จากยุคหินเก่า....สู่หินใหม่...เปลี่ยนผ่านสู่ยุคอารยธรรม



วัสดีคุณผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน กลับมาโคจรเจอกันอีกครั้ง วันนี้บล๊อค"ท่องแดนในฝันในอาเซียน" จะนำเกร็ดความรู้สาระดี ๆ เกี่ยวกับ "การเปลี่ยนผ่านสู่อารยธรรม"มาฝากกันค่ะ  

ที่มาภาพ : http://upriser.com/posts/alarm-bells-toll-for-human-civilization-as-world-s-12th-largest-mega-city-to-run-out-of-water-in-just-60-days


เมื่อสัปดาห์ก่อนเราได้พูดถึง "วิวัฒนาการของมนุษย์" กันไปแล้ว ซึ่งทำให้เห็นว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เฉลียวฉลาดเป็นอย่างมาก มีสัญชาตญาณทีจะการปรับตัว ดิ้นรน เอาตัวรอดกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ตลอดเวลา โดยการปรับตัวนั้นมีทำให้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ขึ้นตลอดเวลาจนเปลี่ยนผ่านมาสู่ "อารยธรรม"


ยุคหินเก่า ( Paleolisthic Era)  

ที่มาของภาพ : https://www.shorthistory.org/prehistory/language-and-spiritual-culture-in-old-stone-age/

มนุษย์ยุคนี้เป็นพวกเร่ร่อน อาศัยตาม ถ้ำและเพิงผา ใช้เครื่องมือหินกะเทาะง่าย ๆ ในการล่าสัตว์หาของป่าเพื่อประทังชีวิต รู้จักการใช้ไฟ เริ่มมีพัฒนาการทางภาษา เริ่มรู้จักการสร้างงานศิลปะผ่านการวาดรูปตามผนังถ้ำ และ เริ่มปรากฏความเชื่อชีวิตหลังความตายผ่านหลุมฝังศพ


ยุคหินใหม่ (Neolithic Era)


ที่มาของภาพ : https://www.bibalex.org/SCIplanet/en/Article/Details?id=98

ในยุคนี้เครื่องมือหินมีความประณีตมากขึ้น เพราะมีการขัดสนของหิน เช่น สิ่ว เลื่อย เคียว และรู้จักการใช้โลหะ มีการเปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ครั้งสำคัญนั่นก็คือ "การปฏิวัติเกษตรกรรม"   เริ่มมีพัฒนาการทางด้านเกษตรกรรม  มีการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์มากขึ้นทำให้มีแหล่งอาหารมากขึ้น  จากผู้คนที่เร่ร่อนเป็นการตั้งรกรากอยู่กับที่ เป็นหมู่บ้านทำให้มีการรวมกลุ่มสังคมที่ใหญ่และซับซ้อนขึ้น อีกทั้งยังมีการติดต่อค้าขายกับกลุ่มภายนอกมากขึ้น  นอกจากนี้ยังเกิดเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น เช่น การปั้นหม้อ การทอผ้า และ คันไถ 

ยุคเริ่มต้นของอารยธรรม (Thr first civilization)

ที่มาภาพ : https://slideplayer.com/slide/9827264/

จาก "หมู่บ้านเกษตรกรรม" นำมาสู่การเกิดขึ้นของสังคมเมือง  เมืองในยุคแรกนั้น มีการทำชลประทานซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้มีผลผลิตมากขึ้นและสามารถนำไปค้าขายต่อ หรือ เลี้ยงคนชนชั้นสูง ระบบเศรษฐกิจมีการพัฒนามากขึ้น มีการค้าขายเพิ่มมากขึ้น มีการใช้แรงงานภาคเกษตรลดลง ความมั่งคั่งของสังคมเมืองทำให้เริ่มมีการแบ่งประเภทของแรงงานเพราะผู้คนเริ่มมีความชำนาญและอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น เช่น อาชีพช่างฝีมือ วิศวกร ซึ่งนำมาสู่การแบ่งชนชั้นทางสังคม โดย แบ่งเป็น ชนชันสูงสุด คือ ผู้ปกครอง ขุนนาง นักบวช นักรบ ชนชั้นรองลงมา คือ พ่อค้า ชนชั้นที่ 3 คือ ช่างฝีมือและเกษตรกร และชนชั้นที่ต่ำที่สุด คือ ทาส ซึ่งทำให้เห็นว่าทาสเกิดขึ้นมานานแล้ว เริ่มมีการเจริญเติบโตของเมือง  มีพัฒนาการด้านการปกครองที่ชัดเจนมากขึ้น มีผู้ปกครอง มีการใช้กฎหมาย มีศาสนาและความเชื่ออย่างเป็นทางการ เกิดสิ่งประดิษฐ์ที่ทันสมัย เช่น อาวุธ เครื่องมือการเกษตรต่าง ๆ  

อารยธรรมที่เกิดขึ้นในยุคแรกนั้นมีปัจจัยมาจากที่ตั้งที่อยู่ติดกับแม่น้ำทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการอยู่อาศัย ซึ่งมี 4 อารยธรรมดังนี้
  • อารยธรรมอียิปต์  ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำไนล์ 
  • อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำไทรกริส-ยูเฟรติส
  • อารยธรรมอินเดีย ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำสินธุ
  • อารยธรรมจีน ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำฮวงโห

ที่มาภาพ : https://humanoriginproject.com/first-civilization-earth-sumerians-ancient-mesopotamia/

ากข้างต้นจะเห็นได้ว่าพัฒนาการของอารยธรรม เกิดขึ้นจากความต้องการด้านทรัพยากรต่าง ๆ มากขึ้นทำให้สังคมเกษตรกรรมเล็ก ๆ มีการรวมตัวเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้มีประชากรมากขึ้น มีการติดต่อกับผู้คนภายนอกมากขึ้น สังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้การปกครองและการจัดระเบียบทางสังคมมากขึ้น มีศูนย์กลางเป็นสถานที่สำคัญ เช่น วัด หรือแหล่งค้าขาย และรายล้อมไปด้วยบ้านเรือน นอกจากนี้ยังมีการพัฒนามีการพัฒนาด้านเครื่องมือ เครื่องใช้  เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตมากขึ้น

บกันไปแล้วเป็นยังไงบ้างคะ ได้เข้าใจเรื่อง"การเปลี่ยนผ่านสู่อารยธรรม" มากขึ้นกันไหมคะ ?

 สัปดาห์หน้าจะนำสาระความรู้ดี ๆ เรื่องไหนมาฝากกันนะ??  ฝากติดตามด้วยนะคะ 😊


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาณาจักรพยู: มรดกโลกอันล้ำค่าของเมียนมา

พระนิรฤติ : เทวดาผู้อารักษ์แห่งทิศหรดี