ปราสาทหมีเซิน : ร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรจามปา
สวัสดีค่ะ วันนี้เราได้พาทุกท่านออกเดินทางกันอีกครั้ง โดยจะพาทุกท่านท่องแดนในฝันในประเทศที่ไม่ไกลจากบ้านเรา นั่นก็คือ "เวียดนาม" นั่นเอง ซึ่งเป็นประเทศที่มีรูปร่างคล้ายตัว S แนวยาว อยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน เป็นเหตุทำให้ทั้งสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศแตกต่างกว่าประเทศในกลุ่มอินโดจีนอื่น ๆ อีกทั้งยังผ่านหนึ่งที่ผ่านสมรภูมิรบมาอย่างยาวนาน เคยตกเป็นอาณานิคมของจีนและฝรั่งเศสทำให้มีการผสมผสานด้านวัฒนธรรมจากหลายชนชาติ ทั้งด้านที่อยู่อาศัย เทศกาล อาหาร ทุกท่านคงทราบกันดีว่าประเทศเวียดนามผู้คนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานเป็นหลัก แต่ท่านรู้หรือไม่ว่าที่เวียดนามมีร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรหนึ่งในอดีตที่มีการนับถือศาสนาฮินดู นั่นก็คือ "อาณาจักรจามปา" ซึ่งมีร่องรอยที่เหลืออยู่นั่นก็คือ "ปราสาทหมีเซิน" นั่นเองค่ะ ถือเป็นโบราณสถานในศาสนาฮินดูที่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดในอินโดจีน จะเป็นอย่างไรกันบ้าง มาออกเดินทางไปพร้อมกันได้เลยค่ะ 👇
ปราสาทหมีเซิน มีอายุกว่า 1,600 ปี สร้างขึ้นด้วยศิลปะจามในสมัยศตวรรษที่ 4 โดยพระเจ้าภัทรวรมัน สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่งศาสนสถานสำหรับบูชาพระศิวะตามความเชื่อในศาสนาฮินดู หมีเซินเคยเป็นนครศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ ของอาณาจักรจามตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 - ศตวรรษที่ 15 ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 900 ปี ทำให้โบราณสถานแห่งนี้เป็นที่รวบรวมลักษณะทางด้านศิลปกรรมที่หลากหลาย จัดเป็นกลุ่มโบราณสถานในศาสนาฮินดูที่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคอินโดจีน
การเดินทางและการเยี่ยมชม
ปราสาทหมีเซิน กลุ่ม B เป็นตัวอย่างของการจัดวางกลุ่มปราสาทในศิลปะจาม ที่มีการจัดวางไม่เป็นระเบียบ ภายในกลุ่มโบราณสถานประกอบไปด้วยปราสาทประธาน ปราสาทบริวาร บรรณาลัย โคปุระ กำแพงล้อมรอบและมณฑปซึ่งตั้งอยู่ภายนอกกำแพง
ปราสาทมิเซิน D มีปราสาท 2 หลังที่สำคัญ คือ ปราสาทมิเซิน D1 และปราสาทมิเซิน D2 ทั้งสองหลังเป็นมณฑปภายนอกกำแพงของปราสาทมิเซินกลุ่ม B และ C มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ด้านบนคงสร้างขึ้นด้วยหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องซึ่งไม่หลงเหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน ด้านข้างประดับด้วยเสาติดผนัง ซุ้มประติมากรรมสลับกับหน้าต่างที่ประดับด้วยลูกมะหวด
ปราสาทมิเซิน F เป็นปราสาทที่เก่าแก่ที่สุดหลังหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานที่มิเซิน ลวดลายที่ประดับปราสาทมีความคล้ายคลึงกับศิลปะอินเดียและศิละขอมสมัยก่อนเมืองพระนครอย่างมาก ทำให้สามารถกำหนดอายุได้ว่าอาจมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 โดยฐานของปราสาทมิเซิน F มีลวดลายที่คล้ายคลึงกับศิลปะอินเดียและศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนครอย่างมาก อันได้แก่ลายบุคคลเหาะในช่อง และภาพลูกกรง
![]() |
ที่มา : http://www.pentorexchange.com |
ปราสาทหมีเซิน (MY SON SANCTUARY) กลุ่มวิหาร หรือ โบราณสถาน หมีเซิน My son หรือ Mỹ Sơn ในภาษาเวียดนาม ตั้งอยู่ในชุมชน Duy Tan จังหวัดกว๋างนาม (Quang Nam) หรืออยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองดานัง 70 กิโลเมตร และห่างจากเมืองฮานอย 40 กิโลเมตร ตั้งอยู่ใจกลางหุบเขากว้าง ซึ่งเป็นที่ราบต่ำ ถูกรายล้อมไปด้วยภูเขาขนาดใหญ่ ตรงใจกลางมีลำธารน้ำไหลผ่าน มีหุบเขากว้างเหมือนกับโยนี มีภูเขาลูกใหญ่ก็เหมือนกับศิวลึงค์ ลำธารที่ไหลผ่านก็เหมือนกับน้ำที่ไหลผ่านโยนี ธรรมชาติของที่นี่ดูเหมือนกับแท่นบูชา ทำให้ชาวจามเลือกที่แห่งนี้ในการสักการะเทพเจ้าของฮินดู และถือเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของชาวจาม
![]() |
ที่มา : http://aseannotes.blogspot.com |
ปราสาทหมีเซิน มีอายุกว่า 1,600 ปี สร้างขึ้นด้วยศิลปะจามในสมัยศตวรรษที่ 4 โดยพระเจ้าภัทรวรมัน สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่งศาสนสถานสำหรับบูชาพระศิวะตามความเชื่อในศาสนาฮินดู หมีเซินเคยเป็นนครศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ ของอาณาจักรจามตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 - ศตวรรษที่ 15 ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 900 ปี ทำให้โบราณสถานแห่งนี้เป็นที่รวบรวมลักษณะทางด้านศิลปกรรมที่หลากหลาย จัดเป็นกลุ่มโบราณสถานในศาสนาฮินดูที่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคอินโดจีน
กลุ่มโบราณสถานหมีเซินประกอบด้วยปราสาททั้งหมด 73 หลัง แต่ในช่วงสงครามเวียดนาม ทหารเวียดนามได้ใช้ปราสาทหมีเซินเป็นกองบัญชาการ ฝ่ายอเมริกันจึงได้นำเครื่องบินทิ้งระเบิดบริเวณนี้ ทำให้โบราณสถานถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันหลงเหลือปราสาทเพียง 22 หลังเท่านั้น และยังมีร่องรอยของปราสาทที่ถูกทำลายหลงเหลืออยู่ให้เห็น
ด้วยความสวยงามและสมบูรณ์ปราสาทหมีเซินทำให้จึงทำให้ได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี พ.ศ. 2542 โดยมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณามรดกโลด้านวัฒนธรรมจำนวน 2 ข้อ ดังนี้
(ii) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
(iii) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
![]() |
ที่มา :https://commons.wikimedia.org/wiki/File:My_Son_map2.JPG |
การเดินทางและการเยี่ยมชม
สามารถเดินทางด้วยรถทัวร์ แท็กซี่ แต่ถ้าสะดวกที่สุดแนะนำให้ซื้อทัวร์ One day Trip ซึ่งมีผู้จัดมากมายในเมืองฮอยอัน โดยมีค่าทริปประมาณ 7-8 USD ปราสาทหมีเซินเปิดทำการตลอดทั้งปี ในเวลา 6.30-17.30 น. โดยเวลาที่เหมาะสมในการมาเยี่ยมชม คือ ช่วงเช้า เพราะมีอากาศกำลังดี ไม่ร้อนจนเกินไป โดยมีค่าเข้าชมประมาณ 150.000 VND
ไฮไลท์ที่ห้ามเมื่อมาเยือนปราสาทหมีเซิน
- เยี่ยมชมอาณาจักรจามปาที่สาบสูญซึ่งมีอายุย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 3
- ตื่นตาตื่นใจกับหุบเขาที่สวยงามที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงตระหง่าน
- สำรวจวัดที่สร้างขึ้นใหม่ในศตวรรษที่ 7
จุดเด่น ปราสาทแห่งนี้ลักษณะเป็นปราสาทเตี้ย ๆ ไม่ได้ยกฐานสูง สิ่งที่เหลือปัจจุบัน จะเห็นปราสาทหินแข็งแรงที่ลดหลั่นกันลงไป บริเวณโซนระหว่างกลุ่มปราสาท จะเห็นมีฐานสำหรับตั้ง แต่ไม่มีสิ่งประดิษฐานอยู่บนนั้นอยู่หลายฐาน ตัวปราสาทเป็นลักษณะก่ออิฐก้อนเล็กซ้อน ๆ กันขึ้นไป บริเวณซุ้มทึบจะมีรูปประติมากรรมคล้ายกับศิลปะชาวกัมพูชา บริเวณเสาที่ต่อขึ้นเป็นชั้นมีลวดลายสลักที่ยังคงเหลือให้เห็น รูปสลักบริเวณฐานตามช่องจะมีลักษณะแปลกตา ภายในปราสาทบางหลังจะมีการเก็บรักษาชิ้นส่วนโบราณวัตถุเอาไว้ ซึ่งในอดีตคงเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของปราสาท
สิ่งที่น่าสนใจ ก้อนอิฐของชาวจามตั้งแต่โบราณ แม้ผ่านเวลามา 1600 ปี แต่ไม่มีมอสหรือตะไคร่ขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผนังที่ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่กลับมี นับเป็นจุดสังเกตระหว่างของใหม่และของเก่า รูปปั้นเทวาลัยตามผนังวิหาร จะไม่มีใบหน้าของเดิม ที่เห็นเป็นการซ่อมแซม ป้ายหินทรายแกะสลัก มีทั้งพระศิวะ พระขันธกุมาร พระพิฆเนศ เทพเจ้าที่คนไทยบางกลุ่มก็ให้ความนับถือ
ปราสาทหมีเซิน ถูกจำแนกออกเป็น 14 กลุ่มรวม 10 กลุ่มหลักแต่ละกลุ่มประกอบด้วยวัดหลายแห่ง โดยมีการกำหนดตัวอักษรให้กับกลุ่มหลักด้วยตัวอักษรเหล่านี้: A, A ', B, C, D, E, F, G, H, K ภายในแต่ละกลุ่มเขาได้กำหนดหมายเลขให้กับสิ่งปลูกสร้างด้วย เช่น ปราสาทหมีเซิน E1 หมายถึงปราสาทกลุ่ม E หมายเลข 1
ตัวอย่างปราสาทที่สำคัญที่หลงเหลืออยู่มีดังนี้ 👇
![]() | |
ที่มา : https://www.sac.or.th/ |
ปราสาทหมีเซิน กลุ่ม B เป็นตัวอย่างของการจัดวางกลุ่มปราสาทในศิลปะจาม ที่มีการจัดวางไม่เป็นระเบียบ ภายในกลุ่มโบราณสถานประกอบไปด้วยปราสาทประธาน ปราสาทบริวาร บรรณาลัย โคปุระ กำแพงล้อมรอบและมณฑปซึ่งตั้งอยู่ภายนอกกำแพง
![]() |
ที่มา :https://www.sac.or.th |
ปราสาทมิเซิน B5 เป็นปราสาทกลุ่ม B เพียงหลังเดียวที่ยังมียอดครบสมบูรณ์ เป็นปราสาทที่มีเสาติดผนังจำนวน 5 ต้น แต่สามารถมองเห็นแค่ 4 ต้น เนื่องจากเสาต้นกลางถูกซุ้มบดบัง ซึ่งถือเป็นลักษณะที่ปรากฏเสมอ ๆ ในศิลปะมิเซิน A1 ซุ้มมีลักษณะเป็นซุ้มหน้านาง ซึ่งเป็นซุ้มที่สืบต่อมาจากซุ้มแบบดงเดือง แต่กลับเป็นซุ้มตอนเดียว ไม่ได้ปรากฏปีกนกต่อเนื่องกันลงมาซึ่งแตกต่างไปจากซุ้มดงเดือง ภายในซุ้มมักปรากฏเทวดาถือกระบอง
![]() |
ที่มา : https://www.sac.or.th |
ปราสาทมิเซิน C1 เป็นปราสาทประธานของหมีเซินกลุ่ม C และเป็นปราสาทประธานเพียงหลังเดียวที่มีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีหลังคาเป็นทรงประทุน ด้านหน้าของปราสาทปรากฏมณฑปซึ่งมียอดเป็นทรงประทุนเช่นเดียวกัน มณฑปมีเสาติดผนังห้าต้น และด้านหน้ามีกรอบประตูซึ่งสลักจากหิน เสากรอบประตูมีลักษณะเป็นรูปแจกันคว่ำ-หงายสลับกัน
![]() |
ที่มา : https://www.sac.or.th |
ปราสาทมิเซิน กลุ่ม E เป็นปราสาทมิเซินกลุ่มที่เก่าแก่ที่สุดในกลุ่มปราสาทหมีเซินทั้งหมด โดยอาจตรงกับระยะแรกของการสถาปนาพระภัทเรศวรขั้นเป็นศิวลึงค์ประจำราชอาณาจักรจามมรพุทธศตวรรษที่ 12-13 โดยปัจจุบันฐาน และหน้าบะนถูกจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ดานัง
![]() |
ที่มา:https://www.sac.or.th |
ซุ้มของปราสาทมิเซินกลุ่ม E นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน กึ่งกลางปรากฏภาพเล่าเรื่องตอนวิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ หรือพระวิษณุบรรทมกลางเกษียรสมุทรและมีพระพรหมผุดขึ้นมาจากพระนาภี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู
![]() |
ที่มา : https://www.sac.or.th |
ฐานสลักหิน ประกอบไปด้วยบันไดทางขึ้นและตัวฐาน โดยบันไดทางขึ้นได้รับอิทธิพลอินเดียอย่างมาก เช่น ภาพของยักษะหรือเทพเจ้าแห่งพื้นดินกำลังแบกฐาน ราวบันไดที่มีสิงห์คายและตกแต่งไปด้วยลายประจำยามก้ามปู อัฒจันทร์ที่เป็นรูปปีกกา เป็นต้น ส่วนตัวฐานเองก็ได้รับอิทธิพลอินเดียอย่างมาก เช่น ซุ้มซึ่งได้รับอิทธิพลจากกูฑุของอินเดียเป็นต้น
![]() |
ที่มา :https://www.sac.or.th |
"ปราสาทหมีเซิน" เป็นปูชียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของศาสนาฮินดูในเวียดนาม เป็นศูนย์รวมศิลปะจามที่ยังหลงเหลือในเวียดนามแห่งนี้ ซึ่งมีคุณค่าและมีความเป็นเอกลักษณ์อย่างมาก เป็นสถานที่ที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนเวียดนาม เป็นอย่างไรกันบ้างคะ น่าสนใจกันไหมเอ่ย สำหรับใครที่สนใจความสวยงามของศิลปะจามสามารถไปเยี่ยมชมกันได้นะคะ
สำหรับครั้งนี้จบกันไปแล้วนะคะ ไว้เจอกันใหม่ สถานที่ต่อไปจะพาไปไหนกัน รอติดตามกันตอนหน้านะคะ 😍
อ้างอิง
เชษฐ์ ติงสัญชะลี.(2558).ปราสาทมิเซิน B1.สืบค้น 27 สิงหาคม 2563,จากhttps://www.sac.or.th
เชษฐ์ ติงสัญชะลี.(2558).ปราสาทมิเซิน B5.สืบค้น 27 สิงหาคม 2563,จากhttps://www.sac.or.th
เชษฐ์ ติงสัญชะลี.(2558).ปราสาทมิเซิน C1.สืบค้น 27 สิงหาคม 2563,จากhttps://www.sac.or.th
เชษฐ์ ติงสัญชะลี.(2558).ปราสาทมิเซิน D.สืบค้น 27 สิงหาคม 2563,จาก https://www.sac.or.th
เชษฐ์ ติงสัญชะลี.(2558).หน้าบันรูปวิษณุอนันตศายินจากปราสาทมิเซิน E
.สืบค้น 27 สิงหาคม 2563,จาก https://www.sac.or.th
เชษฐ์ ติงสัญชะลี.(2558).ฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
.สืบค้น 27 สิงหาคม 2563,จาก https://www.sac.or.th
เชษฐ์ ติงสัญชะลี.(2558).ปราสาทมิเซิน F.สืบค้น 27 สิงหาคม 2563,จาก https://www.sac.or.th
มะนาว.(มปป.).โบราณสถาน หมี่เซิน My son ฮอยอัน เวียดนาม.สืบค้น 27 สิงหาคม 2563,จาก https://maanow.com
ลำเจียก สองสีดา.(มปป).มรดกโลกในเวียดนาม 3 : สถานที่ศักดิ์สิทธิ์หมีเซิน.สืบค้น 27 สิงหาคม 2563,จาก http://aseannotes.blogspot.com
วิกิพิเดีย.(มปป).หมีเซิน.สืบค้น 27 สิงหาคม 2563,จาก https://th.wikipedia.org
สถานีวิทยุเวียดนาม.(มปป).โบราณสถานหมีเซิน-จุดนัดพบเชิงศึกษาวัฒนธรรม.สืบค้น 27 สิงหาคม 2563,จาก https://vovworld.vn/
pentorexchange.(มปป).ปราสาทหมีเซิน (MY SON SANCTUARY) ประเทศเวียดนาม.สืบค้น 27 สิงหาคม 2563, จากhttp://www.pentorexchange.com
TALONTIEW.(มปป).โบราณสถาน ปราสาทหมีเซิน MY SON SANCTUARY.สืบค้น 27 สิงหาคม 2563,จาก https://www.talontiew.com
Wikipedia.(n.d.).Mỹ Sơn.retrieved august 27,2019,from https://en.wikipedia.org
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น