อาณาจักรพยู: มรดกโลกอันล้ำค่าของเมียนมา

pyu ancient cities1
ที่มา : https://myanmars.net

       “เมียนมา”  ดินแดนแห่งพระเจดีย์ เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางในฝันของหลายๆ คนอยากไปสัมผัส และที่ขาดไม่ได้   นั่นก็คือ
เมืองโบราณอาณาจักรพยู (Pyu Ancient Cities) ”  ซึ่งเป็นเมืองมรดกโลกที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 4 ครบคลุมพื้นที่คือเมือง ศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) เป็นดินแดนที่มีความรุ่งเรืองมาอย่างยาวนานกว่า 1,000 ปี – 200 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  โดยมีร่องรอยความเจริญที่เหลืออยู่ คือ ซากพระราชวัง เจดีย์ กำแพงอิฐ พระพุทธรูป สุสานโบราณ  และการจัดการชลประทาน จึงอยากพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับอาณาจักรปยู และ สัมผัสความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรแห่งนี้กัน 

ที่มา:http://aseannotes.blogspot.com
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของกรุงย่างกุ้ง เมียนมา ในปัจจุบันใกล้เมืองแปร ในอดีตเป็นที่ตั้งของเมืองศรีเกษตร เปียทะโนมโย และหะลินยี เป็นพื้นที่ชลประทานที่กว้างใหญ่แห่งลุ่มน้ำอิรวดี ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองพุกามประมาณ 100 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์จากเมืองย่างกุ้งประมาณ 5 ชั่วโมง  


าณาจักรพยูเกิดขึ้นราวยุคหินเก่าถือเป็นอารยธรรมแรกของเมียนมา ชาวพยูเป็นชนชาติดั้งเดิมที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ก็มีหลักฐานอื่นๆกล่าวไว้ชาวพยู คือพม่าแท้ 100%  มีอาชีพหลักคือเกษตรกรรม  มีการผันน้ำจากแม่น้ำอิรวดี ในการทำเกษตรกรรม และยังมีการขุดคูคลองรอบๆ เมือง ไว้ใช้น้ำในยามหน้าแล้ง   ต่อมาชาวพยูได้รวมกลุ่มกันสร้างอาณาจักรที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาชื่อว่า อาณาจักรศรีเกษตร ซึ่งกินพื้นที่เกือบทั้งหมดของลุ่มน้ำอิรวดี    โดยศูนย์กลางหลักขออาณาจักรนี้ ตั้งอยู่ที่เมือง ศรีเกษตร เมืองเปียทะโนมโย และเมืองหะลินยี ทั้ง 3 เมือง ได้ถูกผนึกรวมกัน  ชาวพยูมีนิสัยเมตตากรุณา  รักสงบไม่สนใจเรื่องสงคราม แต่จะมีความขัดแย้งในเรื่องการแข่ง    กันสร้างเจดีย์ ศาสนสถาน  ชาวพยู  ใส่เสื้อผ้าที่ ทำจากเส้นใยคล้ายกับไหมนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท     

านศิลปะของชาวพยูได้รับอิทธิพลจากอินเดีย  ศิลปะของชาวพยู เป็นต้นแบบสำคัญในการวางรากฐานงานศิลปะให้กับผู้คนยุคหลังของพม่า โดยเฉพาะในด้านสถาปัตยกรรม เป็นต้นแบบให้งานสถาปัตยกรรมของพม่าในยุคต่อๆ มา  อาทิ  เจดีย์ชเวดากอง มิงกาลาเจดีย์   เปิดให้เข้าชมตลอด 24 ชั่วโมง  โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม  และใช้เวลาในการเข้าชมประมาณ 3 ชั่วโมง โดยมีส่วนสำคัญในการชมดังนี้

ด้นสถาปัตยกรรม เมืองศรีเกษตรยังคงเหลือหลักฐานทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์  แบ่งเจดีย์ได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มเจดีย์ลอมฟางหรือทรงกระบอก  พบหลักฐานเจดีย์ที่เมืองไบค์ถาโน พบเพียงส่วนฐานของเจดีย์  ได้แก่ เจดีย์หมายเลข KKG 2 และ KKG 14 มีรูปแบบขององค์ระฆังมีลักษณะคล้ายกับลอมฟาง ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของเจดีย์ในศิลปะศรีเกษตร เพราะมีรูปแบบที่แตกต่างจากเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะอื่นๆ ลักษณะเป็นฐานเขียงรอบรับองค์ระฆังซึ่งเป็นทรงลอมฟางและทรงกระบอก


เจดีย์หมายเลข KKG 2
เชษฐ์ ติงสัญชลี (2555) อ้างจาก Janice Stargardt  
เจดีย์KKG 14
ที่มา เชษฐ์ ติงสัญชลี (2555) อ้างจาก Elizabeth Moore

ปยาจี(Payagyi)             
 ที่มา: https://www.gomyanmartours.com        

ปยามา (Payama)


     
       บอบอจี(Bawhawgyi)    
ที่มา : http://art-in-sea.com
ส่วนยอดเป็นทรงกรวย ไม่มีบัลลังก์และปล้องไฉนน่าจะมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-12 ส่วนใหญ่จะพบนอกกำแพงเมือง    ได้แก่ ปยาจี(Payagyi)  ปยามา (Payama) และบอบอจี(Bawhawgyi) แต่เจดีย์บอบอจีไม่ได้ทึบตันอย่างที่เห็นมีอุโมงค์ที่สามารถเดินเข้าไปข้างในได้  ภายในเจดีย์นั้นได้พบเซรามิคเล็กๆ บรรจุเงินทองและมีข้อความคัมภีร์ภาษาบาลีอยู่ และพบพระพิมพ์อีกด้วย 


วิหารเซกูตะวันออก
ที่มา: https://commons.wikimedia.org

ลุ่มเจดีย์วิหารกู่ปายา หมายถึง มีวิหารอยู่ด้านล่างสามารถเดินเข้าไปได้และมียอดเป็นเจดีย์ได้แก่ วิหารเซกูตะวันออก (East ZeguTemple) วิหารเลมเยธนา (Lemyethna Temple) และวิหารเบเบ (Bebe Temple)   มีวิหารที่สำค๊ญ 3 วิหารคือ

วิหารเซกูตะวันออก  เหลือเฉพาะส่วนอาคาร ส่วนยอดพังทลายลงหมดแล้ว  แผนผังเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีมุขยื่นออกมาด้านหน้าเป็นทางเข้าภายใน  ส่วนอีก ด้านเป็นซุ้มจระนำ มีการประดับเสาติดผนังน่าจะพัฒนามาจากเครื่องไม้ภายในอาคารมีแบบ คือ  แบบไม่มีแกนรับน้ำหนัก มีแท่นประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ท้ายอาคาร มีทางเข้าด้านเดียว 




วิหารเลมเยธนา
วิหารเลมเยธนา ส่วนบนเหลือเฉพาะฐานซึ่งน่าจะเป็น11  ฐานเจดีย์เนื่องจากมีฐานเขียงซ้อนกัน  เป็นอาคารจัตุรมุข มีทางเข้า ด้าน มีแกนกลางหรือแท่งอยู่กลางอาคารใช้เป็นตัวรับน้ำหนักของส่วนยอด และที่แกนกลางนี้นิยมประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง ด้าน มีทางเดินประทักษิณภายในอาคาร

วิหารเบเบ  ยังเหลือส่วนยอดให้ศึกษาได้  ส่วนยอดเป็นเจดีย์และเป็นเจดีย์ทรงลอมฟางซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของศรีเกษตร  แต่เป็นวิหารขนาดเล็ก ไม่มีแกนอาคารกลางรับน้ำหนัก

ด้านประติมากรรม   พบทั้งในรูปแบบศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและมหายาน รวมทั้งศาสนาฮินดู  แต่ส่วนใหญ่เป็นประติมากรรมเนื่องในศาสนาพุทธแบบเถรวาท พระพุทธรูป งานประติมากรรมนูนสูงที่สร้างขึ้นเพื่อประดับโบราณสถาน พระพุทธรูปนิยมปางสมาธิปางมารวิชัย  พระพุทธรูปเป็นอดีตพระพุทธเจ้า 4 พระองค์และ พระองค์   ประติมากรรมที่ทำจากหินสลัก ประติมากรรมดินเผา  ประติมากรรมสำริด  พบหลักฐานชิ้นสำคัญคือ ประติมากรรมสำริดกลุ่มนักดนตรีและนักเต้นรำ  ท่ารำนั้นแสดงถึงอิทธิพลที่มาจากอารยธรรมอินเดีย  นอกจากนี้ยังพบ   ประติมากรรมนารายณ์บรรทมสินธุ์พระนารายณ์ทรงครุฑ พระนารายณ์กับพระลักษมีมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16

                                             
                                           วิหารเบเบ
                                       ที่มา : https://www.modernpublishing.co.th




ถึงแม้ในปัจจุบันเมืองโบราณอาณาจักรพยูจะเหลือแค่ซากปรักหักพัง แต่ก็แสดงใหเห็นถึงความยิ่งใหญ่และรุ่งเรืองในอดีตของอาณาจักรพยู ในฐานะมรดกโลกอายุเก่าแก่ ซึ่งไม่ใช่เป็นสมบัติของเมียนมา แต่ยังเป็นสมบัติของคนทั้งโลกที่ต้องช่วยกันรักษา เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาชมความยิ่งใหญ่และความสวยงามของมรดกโลกแห่งนี้ เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้ถึงความยิ่งใหญ่และรุ่งเรืองของอาณาจักพยูแห่งนี้ จึงอยากเรียนเชิญทุกๆท่านที่สนใจประวัติศาสตร์และนักท่องเที่ยวทั่วไปได้มาเยี่ยมชมกัน ในครั้งต่อไปจะพาไปท่องแดนในฝันในที่ไหนของอาเซียน รอติดตามรับชมได้นะคะ


ที่มา :http://whc.unesco.org


เอกสารอ้างอิง

เชษฐ์ ติงสัญชลี.(2555).เจดีย์ในศิลปะพม่า-มอญ:พัฒนาการทางด้านรูปแบบตั้งแต่ศิลปะศรี
เกษตรถึงศิลปะมัณฑเล.กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

นพปฎล ธารวานิช.(2015).พยู แหล่งมรดกโลกที่น่าหลงใหลของเมียนมา.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.10(18),1-13.

ศักดิ์ชาย สายสิงห์. (2557). ศิลปะพม่ากรุงเทพฯ: มติชน.

สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์.(2554).The Traditional Art of Myanmar ศิลปะในประเทศพม่า.กรุงเทพฯ:สายธาร.

สถียรพงศ์ ใจเย็น.(มปป).มรดกโลกในเมียนมาร์ 1 : กลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู.สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2561,จาก http://aseannotes.blogspot.com

amazing Thailand.(2017).เที่ยวเมืองโบราณอาณาจักรพยู มรดกโลกแห่งแรกของพม่า.สืบค้นเมื่อวันที่กันยายน 2561, จาก http://gothailandgoasean.tourismthailand.org

travel.mthai (2014).เมืองโบราณอาณาจักรพยู มรดกโลกแห่งแรกของพม่า. สืบค้นเมื่อวันที่4 กันยายน 2561, จาก https://travel.mthai.com

UNESCO. (n.d.). Pyu Ancient Cities.Retrieved September 4,2018,fromhttp://whc.unesco.org

WARITTHA.(2013).ปยู ชนชาติผู้สร้างรากฐานทางสถาปัตยกรรมของพม่า.สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน2561,จาก https://www.modernpublishing.co.th








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

จากยุคหินเก่า....สู่หินใหม่...เปลี่ยนผ่านสู่ยุคอารยธรรม

พระนิรฤติ : เทวดาผู้อารักษ์แห่งทิศหรดี